วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แบบวิจัยชั้นเรียน-หน้าเดียว


วิจัยหน้าเดียว  : ด้านพฤติกรรม

รายวิชาภาษาไทย ท ...............                                                                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เรื่อง  นักเรียนคุยหยอกล้อกันขณะเรียน
……………………………………………………………
สภาพปัญหา
                จากสภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒  ซึ่งต้องสอนในคาบสุดท้ายของวันนักเรียนส่วนหนึ่งไม่สนใจเรียน อยากกลับบ้าน จึงพากันหยอกล้อพูดคุยในห้องเรียนไม่ตั้งใจเรียน เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรมการเรียนปกติ  หากปล่อยให้เป็นไปลักษณะนี้ทุกครั้งจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

วิธีแก้ปัญหา
                ผู้สอนคิดวิธีแก้ปัญหาพฤติกรรมดังกล่าว ด้วยการบันทึกชื่อนักเรียนเอาไว้     เมื่อถึงคาบเรียนก็จะสร้างข้อตกลงว่า วันนี้นักเรียนต้องถูกแจ๊คพ็อตอ่านออกเสียงหน้าชั้นเรียน โดยครูสุ่มจากเลขที่  และจะให้คะแนนการอ่านออกเสียงร้อยแก้วไม่ต้องไปสอบรายคน  เมื่อเริ่มกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนกลุ่มดังกล่าวก็เริ่มพฤติกรรมเดิม  ครูทำเป็นไม่สนใจ และขานเลขที่ให้ออกมาอ่านเรื่องที่ครูเตรียมไว้หน้าชั้นเรียน ๑ ย่อหน้า  นักเรียนออกมาอ่านตามกำหนด และกลับไปนั่ง  ผู้สอนดำเนินลักษณะนี้เรื่อยไปโดยเว้นจังหวะเป็นช่วงๆ  เริ่มสังเกตเห็นว่านักเรียนที่คุยหยอกล้อ เริ่มชะงักลง และรีบก้มลงดูตัวหนังสือ เพราะครูไม่บอกว่าเพื่อนอ่านถึงตรงไหน และใครจับตำแหน่งที่อ่านไม่ได้ จะถูกหักคะแนน  นักเรียนออกมาอ่านตามที่ขานทุกคน ครูชมเชยหลังอ่านตามสภาพจริง โดยไม่ดุ ไม่ลงโทษที่พูดคุย    ผลปรากฏว่านักเรียนลดพฤติกรรมดังกล่าวลงและพัฒนาตนเองดีขึ้นในคาบหลังๆ

สรุปผลการวิจัย
          การแก้ปัญหาด้วยวิธีให้นักเรียนออกมามีส่วนร่วมในการอ่าน   ปรากฏว่านักเรียนลดพฤติกรรมดังกล่าวลงและพัฒนาตนเองดีขึ้นในคาบหลังๆ  เพราะได้แสดงออก และได้รับคำชมเชยทำให้นักเรียนรู้สึกมีคุณค่า และทำได้  ปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ผู้สอนต้องเป็นคนช่างสังเกตและบันทึกข้อมูล  ไม่ควรปล่อยให้ปัญหาเกิดซ้ำซาก  นอกจากนี้ต้องแก้ปัญหาด้วยความใจเย็น  ไม่เกรี้ยวกราดนักเรียน


ลงชื่อ ...............................................ผู้วิจัย            ลงชื่อ......................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ
             (...................................................)                             (........................................)

 ------------------------------------------------------------



วิจัยหน้าเดียว  : ด้านการเรียน

รายวิชาหลักภาษาไทย ท ...............                                                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
เรื่อง  การสอนคำสมาสสนธิ
............................................................................................................................
สภาพปัญหา
                จากการเรียนการสอนวิชาหลักภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นวิชาเพิ่มเติมและจัดสอนเพื่อให้นักเรียนเตรียมตัวใช้ความรู้เพื่อสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา  นักเรียนตอบคำถามเรื่องคำสมาสสนธิได้คะแนนในระดับต่ำเป็นส่วนใหญ่  เมื่อสอบถามก็จะบอกว่ามักจะสับสนและไม่แน่ใจในลักษณะคำ    นอกจากนี้เมื่อครูเขียนคำให้ตอบว่าเป็นคำสมาสหรือสนธินักเรียนไม่สามารถตัดสินจากรูปคำได้ทันที    ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นที่ต้องหาทางแก้ไขเบื้องต้น  เพราะหากนักเรียนไม่เข้าใจชัดเจน จะส่งผลถึงการเรียนในระดับสูง
วิธีแก้ปัญหา
             ผู้สอนหาวิธีในการแก้ปัญหาโดยใช้รูปคำเป็นการตัดสินเบื้องต้นอย่างง่าย   ดังนี้
             การสังเกตคำสมาส
          ๑. A + B   เป็น  AB
            A และ B เป็นแฟนกันเดินตามหลังกัน ใช้คำเดิม  (ยังไม่มีลูก)  เช่น   วาท + ศิลป์   - วาทศิลป์
                   แปลความหมาย จากหลังไปหน้า
             ๒. A + B  เป็น C
            A และ B แต่งงานกัน  มีลูกเป็น C หน้าตาเหมือนพ่อและแม่  เช่น  อรุณ + อุทัย   เป็น อรุโณทัย
                 คำ ๒ คำกลืนเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยการใช้กฎสระ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดตามตัวอย่างต่อไป
สรุปผลการวิจัย
             การแก้ปัญหาด้วยการใช้สูตรดังกล่าว  ส่งผลให้นักเรียนสังเกตคำสมาสสนธิได้ดีกว่าเดิม  และตอบคำถามจากการสังเกตรูปคำได้ทันที   อัตราการตอบพัฒนาคะแนนขึ้นกว่าเดิมมาก  ส่วนรายละเอียดการเข้าสนธินั้น เป็นสิ่งที่จะต้องใช้หลักสังเกตต่อไป   ปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ผู้สอนต้องเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์แยกแยะสังเกตคำ และหาหลักคิดเพื่อแก้ปัญหาให้นักเรียนได้ตรงประเด็นเป็นเบื้องต้นก่อน  โดยเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ และมองเห็นช่องทางใหม่ๆในการพัฒนานักเรียนเสมอ จากนั้นก็จูงใจให้นักเรียนลองคิดค้นวิธีเอง
           
 ลงชื่อ ........................................ผู้วิจัย            ลงชื่อ...............................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ
            (........................................)                                   (........................................)
                  ......../............/............